วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI)
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI นั้น นักวิชาการและนักการศึกษาทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างประเทศได้ให้ความหมายและแบ่งประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ไว้หลากหลาย ซึ่งสามารถสรุปเกี่ยวกับความหมายและประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนได้ดังนี้ เกอร์ลาซ และ อีไล (Gerlach and Ely 1980, 395-396) ; ไฮนิช และ คณะ
(Heinich and others 1990, 366); ร็อธสตีน (Rothstein 1990,312-331); อะแลซซี่ และ
ทรอลลิป (Alessi and Trollip 1991); เคมป์ และ สเมลลี (Kemp and Smellie 1994, 277);
สุรางค์ โค้วตระกูล (2533); ฉลอง ทับศรี (2535, 1); นงนุช วรรธนวหะ (2535); ช่วงโชติ
พันธุเวช (2535, 64-73); ศรีศักด์ิ จามรมาน (2535); สุกรี รอดโพธ์ิทอง (2535, 40); กิดานันท์
มลิทอง (2536); ชลิยา ลิมปิยากร (2536, 182); วิชุดา รัตนเพียร (2536, 57), ถนอมพร
ตันติพัฒน์ (2539) และพัลลภ พิริยะสุรวงศ์ (2539, 43-57)
1. Computer-Assisted Instruction หรือ Computer-Aided Instruction : CAI
2. Computer-Assisted Learning : CAL
3. Computer-Based Education : CBE
4. Computer-Based Instruction : CBI
5. Computer-Based Training : CBT
6. Computer-Managed Instruction : CMI
7. Instructional Applications of Computer : IAC
ส่วนคำที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Computer-Assisted Instruction (CAI) หมายถึง
การสอนโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยนำเสนอเนื้อหาบทเรียนและกิจกรรม
แทนผู้สอน โดยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังมีความสามารถใน
การตอบสนองต่อข้อมูลที่นักเรียนป้อนกลับเข้าไปได้ทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงแก่นักเรียน
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสอนและการรับรู้ของนักเรียน โดยอาศัยหลักการเรียนรู้จาก
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยา เช่น ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญานิยม เป็นต้น
4
ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทั่วไป สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้
1. สอนเนื้อหารายละเอียด (Tutorials)
โปรแกรมช่วยสอนเนื้อหารายละเอียด หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้
นักเรียนได้ เรียนรู้เนื้อหาหรือหลักการใหม่ๆ ด้วยการเสนอเนื้อหาและคำถามคำตอบ
ระหว่างบทเรียนและนักเรียน โปรแกรมจะแสดงเนื้อหาที่จะสอนแล้วตั้งคำถามให้นัก-
เรียนตอบ ต่อจากนั้นโปรแกรมจะวิเคราะห์คำตอบแล้วตัดสินว่า จะแสดงเนื้อหาต่อไป
หรือให้นักเรียนตอบคำถามใหม่หรือจะแสดงคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม และโปรแกรมช่วย
สอนนี้ยังรวมถึงวิธีการแนะนำให้นักเรียนตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยการให้
แนวทางแก่นักเรียนเพื่อเลือกคำตอบที่ถูกต้อง
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สามารถตอบสนองการเรียนรู้ส่วนบุคคลได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามระดับ
ความสามารถและอัตราความเร็วตามที่ต้องการ
2. สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนโดยการใช้สี เสียงและภาพ รวมทั้งการออกแบบ
โปรแกรมที่น่าสนใจ
3. สามารถคิดคำนวณได้รวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยสอนความคิดรวบยอด (Concept) และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่าง
ดี
5. สามารถเรียนได้อย่างไม่จำกัดเวลา และทบทวนได้ตามที่ต้องการ
13
6. สามารถจัดแผนการสอนได้ดี ด้วยการที่ผู้สอนสร้างโปรแกรมที่มีขั้นตอนและ
ระบบที่ดี เช่น มีจุดมุ่งหมาย สอนเนื้อหา ทดสอบและให้ผลย้อนกลับ และยังสามารถเก็บ
ข้อมูลผู้เรียน วิเคราะห์และเสนอผลการประเมินได้
สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น นักวิชาการและนักการ
ศึกษาได้ศึกษาวิจัยไว้หลายลักษณะ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิจากการเรียนด้วย
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและการเรียนด้วยวิธีปกติ การหาประสิทธิภาพของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น ซึ่งการวิจัยเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีดังนี้
เมอร์ริท (Merritt 1983, 34-A)ได้ศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนโดยการใช้และไม่ใช้
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในโรงเรียนระดับกลาง ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียน
เกรด 6 และเกรด 7 จำนวน 144 คน โดยกำหนดให้นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยคอมพิวเตอร์
ช่วยสอนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มที่เรียนจากการสอนแบบปกติเป็นกลุ่มควบคุม
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน การวัดความคิดรวบยอด ความวิตกกังวล ทัศนคติต่อครูและ
โรงเรียน ผลปรากฏว่า ผลสัมฤทธ์ิการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมในด้านการ
อ่านและการคำนวณ
โคลิช (Kolich 1986, 138-A) ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับผลจากการฝึกฝนด้านศัพท์
โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิด้านศัพท์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยม
ศึกษาเกรด 11 จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า กลุ่มทดลองซึ่งได้รับการสอนโดย
คอมพิวเตอร์มีผลสัมฤทธิ์ในคะแนนศัพท์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
วลี ศรีปฐมสวัสด์ิ (2532) ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคำศัพท์
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ที่มีภาพสีและภาพสีเอกรงค์ประกอบ พบว่า (1) นักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียน
ภาษาอังกฤษต่างกัน เมื่อเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีและภาพเอกรงค์
ประกอบ ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกัน (2) นักเรียนที่เรียน
จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีและภาพเอกรงค์ประกอบ ผลสัมฤทธ์ิทางการ
เรียนจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 คือ นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนคอมพิว-
เตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีเอกรงค์ประกอบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่
เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีภาพสีประกอบ (3) นักเรียนที่ระดับผลสัมฤทธ์ิ
person?
14
ทางการเรียนภาษาอังกฤษต่างกัน เมื่อเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผลสัมฤทธ์ิ
ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดวงใจ ศรีธวัชชัย (2535) ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรม ในระดับมัธยมศึกษาตอน
ปลาย พบว่า คะแนนทดสอบก่อนและหลังเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
0.01
บุญชู ใจซื่อกุล (2537) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธ์ิของนักเรียนพยาบาลที่เรียน
จากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยมีกลยุทธ์ในการออกแบบโปรแกรม การควบคุมความ
ก้าวหน้าในการเรียนและสิ่งช่วยจัดมโนทัศน์ พบว่า นักเรียนพยาบาลที่เรียนจากบทเรียน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควบคุมความก้าวหน้าในการเรียนโดยผู้เรียนจัดสิ่งช่วยมโนทัศน์ก่อน
การเรียน ระหว่างการเรียนและหลังการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียน
พยาบาลที่เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควบคุมความก้าวหน้าในการเรียนโดย
โปรแกรม จัดสิ่งช่วยมโนทัศน์ก่อนการเรียน ระหว่างการเรียนและหลังการเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนพยาบาล ก่อนการเรียน
และหลังการเรียน มีความสนใจปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และมีการควบคุมตนเองได้ดี มีเจตคติ
ที่ดีต่อคอมพิวเตอร์
จันทนา บุณยาภรณ์ (2539) ได้ศึกษาการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริม
วิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนคอม
พิวเตอร์ช่วยสอนซ่อมเสริมวิชาวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
ไว้คือ 80/80 (2) ผลสัมฤทธ์ิของนักเรียนจากการทดสอบหลังการเรียนซ่อมเสริมด้วยบท
เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าผลสัมฤทธ์ิก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
จากเอกสารและงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนอกจากจะ
ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างเจตคติที่ดีของผู้เรียนต่อ
คอมพิวเตอร์อีกด้วย
*****************************
อ้างอิงจาก
วิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ใช้ตัวชี้นำต่างกัน
ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผู้เขียน นายจักรพงษ์ เจือจันทร์ ( ปีการศึกษา 2540)__

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แนะนำตัว

นางอัญชลี สุทธิพันธ์
ตำแหน่งครูประจำกลุ่ม ปวช. กศน.อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
จบการศึกษา ระดับปริญญาตรี จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนะนำตัวค่ะ

นางอัญชลี สุทธิพันธ์ กศน.อำเภอบางใหญ่
กลุ่ม นวัตกรรมก้าวหน้า

มือใหม่หัดทำค่ะ